วิสัยทัศน์โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา
โรงพยาบาลชุมชนแม่ข่ายชั้นนำ เป็นเลิศด้านเทคโนโลยี ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมสร้างสุขภาวะ

โรงพยาบาลชุมชนแม่ข่ายชั้นนำ
: ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ สาขาต่างๆ สูติกรรม,ศัลยกรรม(ชั้นนำปี68),อายุรกรรม,กุมารเวช,ปฐมภูมิ , ทันตกรรม
: มาตรฐานคุณภาพด้านต่างๆ HA, DHSA, NQA, HAIT, SHA, RLU, โรงพยาบาลคุณธรรม
เป็นเลิศด้านเทคโนโลยี :(ระบบสุขภาพดิจิตอล)
: e-health ได้แก่ ระบบ Electronic Health Records (EHR) ที่ช่วยจัดการข้อมูลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ , การเชื่อมโยงข้อมูลแบบไร้รอยต่อ (Yaha happiness Ver2)
: m-health ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น ระบบติดตามผลการรักษาผ่านแอปพลิเคชัน ,ระบบนัดหมายออนไลน์ , A-med
: Telehealth ได้แก่ Telemedicine, Teleconsult , Care delivery
: Digital health Innovation ได้แก่ ข้อมูลสุขภาพ Big Data, IoT ในการติดตามสัญญาณชีพของผู้ป่วยจากระยะไกล, นวัตกรรมด้านสุขภาพดิจิตัล, อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย เช่น เครื่อง MRI, CT Scan , และเครื่องมือส่องกล้อง
:การนำเทคโนโลยีมาใช้ครอบคลุมทุกหน่วยงาน
ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมสร้างสุขภาวะ
: ศูนย์สร้างสุขทุกตำบลในอำเภอยะหา CBR, CBTx,CGA mobile ,จิตอาสาชุมชน
: Seamless Refer


พันธกิจ (Mission)

1.ให้บริการสุขภาพแบบองค์รวมที่เชื่อมโยงทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิที่ได้มาตรฐานสหวิชาชีพ
2.บุคลากรมีศักยภาพ สมรรถนะตามเกณฑ์
3.สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยาและปลอดภัย
4.ให้บริการสุขภาพและบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลให้ได้มาตราฐานสู่ความเป็นเลิศ
5.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและจิตอาสาในการจัดการสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น

เป้าประสงค์

1.เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและทันสมัยเกิดความศรัทธาและไว้วางใจ
2.เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีภาคีเครือข่ายและจิตอาสามีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น
3.เพื่อให้บุคลากรได้รับการพัฒนาศักยภาพในการให้บริการและมีสมรรถนะสูง มีความปลอดภัยและผูกพัน
4.โรงพยาบาลมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยาและปลอดภัย

จุดเน้น/ เข็มมุ่ง (ปี 2568)

1.เพิ่มศักยภาพการดูแลรักษาของหน่วยปฐมภูมิและทุติยภูมิ (สาขาอายุรกรรม,ศัลยกรรม,เวชศาสตร์ครอบครัว)
2.ลดข้อร้องเรียนด้านพฤติกรรมและสร้างความประทับใจระบบบริการ
3.ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากกระบวนการดูแลรักษา
4.บุคลากรมีศักยภาพในการให้บริการและมีสมรรถนะสูง
5.บุคลากรสุขภาพดีและมีความสุข
6.พัฒนาระบบสารสนเทศเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบบริการและบริหารจัดการ



ค่านิยมหลัก (Core Value) : YCPH

Y=Yield มุ่งเน้นผลงานที่สร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีดิจิตัล
C=Clinical Risk and Safety Awareness จิตสำนึกด้านความเสี่ยงและความปลอดภัย
P=Patient Focus ใส่ใจผู้ป่วย
H=Health Promoter เป็นผู้นำด้านการส่งเสริมสุขภาพ



ประวัติ/ความเป็นมาขององค์กร

      โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา เป็นสถานบริการสาธารณสุข ระดับ F1 ขนาด 90 เตียง S Plus ตั้งอยู่ที่ 138 หมู่ 6 ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2520 ให้การรักษาพยาบาล ขั้นทุติยภูมิ ระดับต้น ดูแลสุขภาพประชาชนในเขตบริการสุขภาพที่ 12 ประชากรที่รับผิดชอบ จำนวน 49,316 คน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหาเป็นอำเภอที่อยู่ห่างจาก อำเภอเมืองยะลา 20 กิโลเมตร กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเกินขีดความสามารถของการให้บริการ จะได้รับการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลยะลา ซึ่งเป็นหน่วยบริการตติยภูมิระดับสูงในระยะเวลาที่รวดเร็ว

การนำองค์กรโดย : การบริหารโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา โดยการวางนโยบาย กำกับดูแล ส่งเสริมและสนับสนุน ดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล ซึ่งประกอบไปด้วยผู้อำนวยการโรงพยาบาล หัวหน้าฝ่ายต่างๆ และผู้ที่เป็นแกนนำสำคัญ ในการส่งเสริมผลักดันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในงานประจำ ตลอดจนการกำกับติดตามตัวชี้วัดที่สำคัญร่วมกัน เพื่อให้มีผลการดำเนินงานที่ดี เป็นที่เชื่อมั่นของผู้ใช้บริการ

ขอบเขตของการให้บริการ
ให้บริการตั้งแต่ระดับปฐมภูมิจนถึงทุติยภูมิระดับ F1 โดยมีแพทย์ทั่วไปให้บริการ รักษาพยาบาลผู้ป่วย อายุรกรรม ศัลยกรรม กุมารเวชกรรม สูติกรรม และทันตกรรม โดยไม่แยกสาขา และส่งเสริมป้องกันฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย ติดตามดูแลต่อเนื่องที่บ้านและชุมชน ระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิระดับต้น


สาขาที่มีการให้บริการ
-บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป และคลินิกโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด วัณโรค)
-บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุ- ฉุกเฉิน
-บริการผู้ป่วยใน
-บริการอนามัยแม่และเด็ก (การฝากครรภ์ การคลอด)
-บริการทันตกรรม
-บริการนวดแผนไทยและผลิตยาสมุนไพร
-บริการสุขภาพจิตและจิตเวชและบำบัดผู้ติดสารเสพติด
-บริการสุขภาพชุมชน
-บริการห้องผ่าตัดเล็ก
-บริการเวชศาสตร์ฟื้นฟู